วันพุธที่ 18 ธันวาคม 2024

สสส. สู้วิกฤตโควิด-19 เคียงข้างคนใต้ หนุนทางรอดสร้างแหล่งอาหารปลอดภัย นำร่อง 15 พื้นที่

สสส. สู้วิกฤตโควิด-19 เคียงข้างคนใต้ หนุนทางรอดสร้างแหล่งอาหารปลอดภัย นำร่อง 15 พื้นที่ ใน 5 จังหวัดเสี่ยงติดเชื้อสูง เน้นช่วยคนตกงาน-รายได้น้อย พร้อมส่งทีมพี่เลี้ยง ‘คนสร้างสุขภาคใต้’ สอนทักษะทำเกษตร-ฟาร์มไก่ไข่-เปิดครัวกลาง-ปรุงเมนูสุขภาพ ตั้งเป้าขยายพื้นที่ครอบคลุม 14 จังหวัดภาคใต้

นางเข็มเพชร เลนะพันธ์ รักษาการผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และผู้อำนวยการสำนักสร้างสรรค์โอกาส สสส. กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 สร้างผลกระทบโดยตรงกับประชาชนทั่วประเทศ 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด พบจังหวัดทางภาคใต้ติดอันดับถึง 3 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี และยะลา รวมผู้ป่วยสะสมกว่า 1 หมื่นคน ที่น่าห่วงคือ เศรษฐกิจในพื้นที่หยุดชะงัก ทำให้คนว่างงานจำนวนมาก ทั้งชาวไทยพุทธและไทยมุสลิม โดยเฉพาะในกลุ่มรับจ้างรายวันที่ถูกเลิกจ้างจากประเทศมาเลเซีย ทั้งทำงานโรงแรม โรงงาน ร้านค้า ที่ไม่มีเงินสำรองเลี้ยงชีพ ทำให้กระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของครัวเรือน สสส. เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น ได้ริเริ่มโครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้ มุ่งสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนลดภาระค่าใช้จ่าย บรรเทาผลกระทบของประชาชนจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สาม

นางเข็มเพชร กล่าวว่า โครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้ ได้นำร่องใน 5 จังหวัด 15 พื้นที่ ได้แก่ สงขลา 3 พื้นที่ ปัตตานี 3 พื้นที่ ยะลา 3 พื้นที่ นราธิวาส 3 พื้นที่ และสตูล 3 พื้นที่ มุ่งสร้างความมั่นคงด้านอาหารที่ถือเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตสุขภาวะให้กับคนในชุมชน โดยมีทีมคนสร้างสุขภาคใต้เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงสอนให้ชุมชนมีทักษะการทำเกษตร สร้างแหล่งผลิตอาหารด้วยตัวเองเพื่อลดรายจ่ายรายวัน รวมถึงสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ขณะนี้มีคนในชุมชนเข้าร่วมเป็นแกนนำในโครงการฯ แล้วทั้งสิ้นกว่า 300 คน โดยภายในปีนี้ตั้งเป้าหมายจะขยายพื้นที่เพื่อกระจายความมั่นคงด้านอาหารไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบทั้ง 14 จังหวัดในภาคใต้

นายสุวิทย์ หมาดอะดำ ผู้จัดการโครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้ สสส. กล่าวว่า ชุมชนภาคใต้ถือเป็นแหล่งผลิตอาหารที่หลากหลายเป็นทุนเดิม เพราะเป็นพื้นที่เพาะปลูก ทำสวน และเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ทำให้คนในชุมชนมีจุดเด่นในเรื่องความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรที่หลากหลาย โครงการฯ ของ สสส. เข้ามามีส่วนช่วยกระตุ้นให้คนในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ โดยขั้นตอนการทำงานมีดังนี้ 1.ทีมพี่เลี้ยงร่วมกับแกนนำชุมชนจัดหาพื้นที่โล่งกว้างที่เหมาะสมจะใช้เป็นแหล่งผลิตอาหารสำหรับคนในพื้นที่ 2.อบรมและให้ความรู้การทำการเกษตรปลอดสารพิษ ทั้งการปลูกผัก ฟาร์มไก่ไข่ เลี้ยงปลา ให้สามารถสร้างเป็นอาชีพและรายได้ในระยะยาว และ 3.อบรมแกนนำทำหน้าที่คอยดูแล และพัฒนาแหล่งอาหารชุมชนเพื่อนำไปสู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบศึกษาดูงานความมั่นคงด้านอาหารระดับจังหวัดต่อไป

“ความสำเร็จของโครงการฯ มาจากความทุ่มเทแรงกาย แรงใจของคนในพื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น บางชุมชนปรับพื้นที่โรงเรียนให้กลายเป็นแหล่งอาหารของชุมชน เช่น ชุมชนในเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ 8 ชุมชน ปรับพื้นที่สถาบันปอเนาะอัรฉาดียะฮ์ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา เนื้อที่กว่า 10 ไร่ เป็นแปลงผักเกษตรปลอดสารเคมี ฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ พร้อมจัดสร้างครัวกลางผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับบริโภคในชุมชน โดยให้เด็กนักเรียน 30 คน ทำหน้าที่บริหารจัดการ ขณะเดียวกันภาพความสำเร็จยังเห็นได้จาก ชุมชนบ้านสันติ ต.สุคิริน อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ที่มีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 30 ครัวเรือน ร่วมปลูกผักปลอดสารเคมี เลี้ยงปลา จนเกิดเป็นโมเดล “เกษตรสันติ พึ่งพาตนเอง” ยกระดับเป็นพื้นที่ศึกษาดูงานสำหรับชุมชนรอบข้าง ซึ่งนอกจากสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนและช่วยลดรายจ่ายแล้ว ยังถือเป็นการเสริมทักษะอาชีพทางการเกษตรรับความเสี่ยงช่วยให้อยู่รอดในทุกวิกฤต ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามและติดตามได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ สร้างสุขภาคใต้” นายสุวิทย์ กล่าว

QR Code LINE@ Prachachat

ไม่พลาดข่าวสำคัญ เจาะลึกทุกประเด็น

เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @prachachat

ติดตามข่าวธุรกิจ

ยะลา

ยะลา

ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

Related Posts

Next Post

บทความ แนะนำ

No Content Available

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.